ภาษีมูลค่าเพิ่ม

รับทำบัญชี.COM | ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ส่วนที่บวกจากมูลค่าสินค้าบริการการ?

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT 7%  คืออะไร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ

           ภาษีอากรที่เกิดขึ้นในทุกการบริโภคโดยรัฐบาลเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ ถือเป็นภาษีทางอ้อมโดยที่ผู้ประกอบการ จะเรียกเก็บจากผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าและบริการที่บวกลงไปในราคาของผลิตภัณฑ์ จะนำภาษีนั้นส่งให้กับกรมสรรพากรเพื่อเข้าสู่คลังของประเทศเพื่อการใช้จ่ายและพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ การเก็บภาษีจากการขายสินค้า และการให้บริการในแต่ละขั้นตอนของการผลิต เพื่อการจำหน่ายสินค้าและการบริการ ทั้งการผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยอัตราที่ผู้ประกอบการจะเก็บภาษีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยคือ VAT 7%

หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
  2. ออกใบกำกับภาษี
    2.1 ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
    2.2 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ
    2.3 การออกใบกำกับภาษีด้วยอิเล็กทรอนิกส์
  3. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
    3.1 รายงานภาษีซื้อ
    3.2 รายงานภาษีขาย
    3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
  4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการยื่น
    4.1 การยื่นแบบฯและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต
    4.2 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
    4.3 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ไทย
    4.4 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ 1-5 และสำนักงานสรรพสามิตสาขาสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
    4.5 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าที่นำเข้าสินค้า

สูตรคำนวณ VAT 7 คือ การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษา VAT

“ราคาสินค้า/บริการ x  VAT 7% (อัตราภาษี 7%)   =  ภาษีมูลค่าเพิ่ม

      ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ขายโคมไฟราคา 1,070 โดยแบ่งเป็นต้นทุน 1,000 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่มปัจจุบัน 70 บาท โดยบริษัทต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสรรพากรในทุกๆ เดือน

       ภาษีนี้จะถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนไว้ใน “ใบกำกับภาษี” ที่เราได้รับมาตอนชำระเงินเสร็จแล้ว

ภาษีการค้า คืออะไร

        ภาษีการค้า คือ ภาษีที่เก็บจากการซื้อขายสินค้าหรือบริการต่างๆ หรือเก็บจากองค์ประกอบของการซื้อขายดังกล่าว เช่น เก็บจากรายรับของการขายหรือเก็บจากรายจ่ายของการซื้อ

        ภาษีการค้า ที่จัดเก็บในประเทศต่างๆ มีรูปแบบหรือลักษณะที่แตกต่างกันจำแนกตาม “ขั้นตอน” ของการจัดเก็บภาษี ควรจะจัดเก็บภาษีการขายนั้นจากการซื้อขายในทอดใดบ้าง สามารถแบ่งประเภทภาษีได้        2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. การจัดเก็บภาษีการค้าเพียงขั้นตอนเดียว (single-stage sales taxes)

        รัฐบาลจะเลือกเก็บในช่วงหนึ่งของการขายหรือการผลิต สินค้าที่ถูกเก็บภาษีการค้าแล้วจะไม่ถูกเก็บภาษีการค้าซ้ำอีก ยกตัวอย่าง ภาษีการค้าที่เก็บในขั้นตอนของการขายปลีก   (retail sale tax) และภาษีการค้าที่เก็บในขั้นตอนของการขายส่ง (wholesale sale tax) และภาษีการค้าที่เก็บในขั้นตอนของโรงงานอุตสาหกรรม (manufacture sale tax)

  1. การจัดเก็บภาษีการขายในหลายขั้นตอน (multiple-stages sales taxes)

สินค้าที่ถูกเก็บภาษีการค้าแล้วครั้งหนึ่งอาจจะถูกเรียกเก็บซ้ำถ้ามีการซื้อขายเปลี่ยนมือกัน เช่น ภาษีการขายที่เก็บจากมูลค่าเพิ่ม (value-added tax) และภาษีที่เก็บทุกทอดของการซื้อขาย (turnover tax)

ภาษีทางตรง คืออะไร

       ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่ภาครัฐจัดเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่างๆของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้

ภาษีอากร คืออะไร

     ภาษีอากร หมายถึง หนึ่งในรายรับสำคัญที่สุดของรัฐบาลที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาขับเคลื่อนประเทศ และธุรกรรมต่างๆ ของรัฐอย่างถูกต้อง โดยความหมายของภาษีอากรเรื่องของความรู้เกี่ยวกับภาษี

ภาษีอากร คือ สิ่งที่รัฐบาลจัดเก็บจากราษฎร และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในการพัฒนาก่อสร้าง เพื่อนำมาใช้บริหารและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การประชาสงเคราะห์ การป้องกันประเทศและรักษาความสงบภายในประเทศ สร้างสาธารณูปโภค รวมไปถึงเงินเดือนของข้าราชการ หน่วยงานของรัฐ  ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่ให้บริการประชาชน เงินภาษีซึ่งการเรียกเก็บจากราษฎรนั้นโดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงให้กับผู้ที่ต้องเสียภาษีประเทศไทย

ภาษีอากร ยังหมายถึง เงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ภาษีการให้ยังไม่ได้รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือการให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล โดยภาษีไทย

ความสำคัญของภาษี

            คือ แหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐ ที่จะนำมาเงินภาษีในประเทศไทยมาพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ผลกระทบต่อรายได้ที่แท้จริงของผู้มีเงินได้ ดังนั้นการเก็บภาษีตอบสนองเป้าหมายทางเศรษฐกิจ โดยต้องมีการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นธรรม การกระจายรายได้ การรักษาทางเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการแก้ปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศทั้งนี้ทั้งนั้นนโยบายการจัดเก็บภาษีอากรอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการดำเนินภาษีในประเทศไทยตามนโยบายการเงินการคลังตามหลักการของหน่วยงานที่จัดเก็บภาษี ดังนี้

  1. การส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
  2. การจำกัดการบริโภคหรือส่งเสริมการบริโภคบางชนิด
  3. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจตามภาษีอัตราก้าวหน้า
  4. การจัดสรรงบประมาณ รายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม
  5. การส่งเสริมสังคม การศึกษา การกีฬา และสิ่งแวดล้อม

ภาษีสรรพากร คืออะไร

ภาษีสรรพากร คือ  The Revenue Department มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคภายในประเทศ ตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลเพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศ เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ที่เริ่มก่อตั้งในสมัย รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433

กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีอะไรบ้าง

        กรมสรรพากร คือ หน่วยงานที่จัดเก็บภาษี ได้แก่ การเก็บภาษีอากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่มบุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์                 

       นอกจากนั้นยังพิจารณาปรับปรุงตัวบทกฎหมาย และระบบการบริหารจัดเก็บภาษีเพื่อส่งเสริมการออม การลงทุนและการแข่งขันในการผลิตและการส่งออกกับนานาประเทศ ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ และเสริมสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี และยังทำความตกลงระหว่างประเทศเพื่อขจัดการเก็บภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ภาษีทางตรง มีอะไรบ้าง

              ประเภทของภาษีทางตรง หมายถึง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป โดยเก็บเป็นรายปี ผู้เสียภาษีต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป ซึ่งรายได้ที่นำมาคำนวณภาษี มีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่

  1. เงินได้จากการจ้างแรงงาน
  2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ
  3. เงินได้จากค่าสิทธิ
  4. เงินได้จากการลงทุนในทรัพย์สิน(Capital Gain)
  5. เงินได้จากการให้เช่า
  6. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
  7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
  8. เงินได้จากการประกอบธุรกิจหรือเงินได้อื่นๆได้นอกจากที่กล่าวไว้ข้างต้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็น ภาษีทางตรง ที่เรียกเก็บจากเงินได้ของนิติบุคคล ได้แก่ เงินได้ประเภทกำไรสุทธิ ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย หรือ การจำหน่ายเงินกำไรจากประเทศไทย

โดยส่วนใหญ่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมาเป็นเวลา 12 เดือนหรือน้อยกว่า 12 เดือนแล้วแต่กรณี สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดอยู่ที่ 20% ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี

ลักษณะของภาษีอากรที่ดี

             การเก็บภาษีมีลักษณะของความเป็นธรรม พิจารณาจากความสามารถในการเสียภาษีของประชาชนและพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเนื่องจากการดูแลของรัฐบาล

  1. 1. มีความแน่นอนและชัดเจน ประชนมีความเข้าใจได้ง่าย และป้องกันไม่ให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
  2. 2. มีความสะดวก วิธีการและเวลาในการเสียภาษีต้องคำนึงถึงความสะดวกของประชาชน อำนวยรายได้ เก็บภาษีได้ตามเป้าเพียงพอต่อการดำเนินงานของรัฐ
  3. มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ ต้องไม่กระทบต่อกลไกลตลาด
  4. มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายทั้งของผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษี
  5. มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงหรือเพิ่มลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

ประเภทภาษีอากร

        ภาษีอากร (TAX)นั้นมีผู้ให้คำนิยามไว้หลายความหมายด้วยกัน หมายถึง เงินที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากราษฎรตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติ และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร หมายถึง เงินที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการ กู้ยืมหรือขายสินค้า หรือ ให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล เงินที่บุคคลถูกบังคับให้ต้องจ่ายให้แก่รัฐ เพื่อรัฐจะได้นำไปใช้จ่ายใน กิจการอันเป็น สาธารณะประโยชน์ทั่วไป โดยที่ผู้จ่ายไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน

ภาษีอากรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

       หลักการจัดเก็บภาษีตามประเภทของภาษีอากรที่สำคัญในประเทศไทย ความหมายของภาษีประกอบไปด้วย 8 ประเภทหลัก ดังนี้

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการธุรกิจ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทฯ หรือรูปแบบห้างหุ้นส่วน
  2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ วิธีหนึ่งในการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า ซึ่งเป็นภาษีที่ถูกหักไว้ตั้งแต่ตอนผู้จ่ายหรือคู่ค้า ทำการ “จ่ายเงินได้” ให้กับเราหรือกิจการของเรานั่นเอง
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ จำนวนเงินที่คิดเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าและบริการ (ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ที่7%) ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบกิจการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านขึ้นไปต่อปีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรจะต้องทำหน้าที่เรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ซื้อและนำส่งให้กับรัฐ
  4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่เรียกเก็บสำหรับกิจการที่เฉพาะเจาะจง เช่นการธนาคาร การจำนำ ประกันชีวิต หรือการขายอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินในเชิงการค้าเพื่อทำกำไร
  5. อากรแสตมป์ คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการทำสัญญาร่วมกัน เช่น สัญญาเช่าที่ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจ้างทำสินค้าหรือของ
  6. ภาษีศุลกากร อ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อเป็นกำแพงภาษีป้องกันราคาสินค้าและคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ แต่ปัจจุบันเริ่มลดความสำคัญลงเนื่องจากหลายประเทศรวมตัวกันเปิดการค้าเสรีเพิ่มมากขึ้น
  7. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพและมีรายได้เกิดขึ้นและมีจำนวนเงินได้ต่อปีเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นแบบแสดงภาษีทุกปี ถึงแม้จะมีรายได้ไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม
  8. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการค้า ที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่ต้องรับภาระทางภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือเกิดผลเสียต่อสุขภาพและสังคม เช่น สุรา เหล้า บุหรี่

       นี่คือ 8 ประเภทของภาษีอากรที่สำคัญซึ่งคนไทยทุกคนควรมีความรู้เบื้องต้น ว่าทำไมต้องเสียภาษี การเรียกเก็บภาษีทำไปเพื่ออะไร และประโยชน์คือ อะไรที่คนไทยรับจากการเสียภาษี

วิธีหาราคาก่อน VAT                              

                การคำนวณก่อน VAT หรือการคิดส่วนลดก่อน VAT เพื่อคำนวณให้กับผู้ซื้อว่าสรุปแล้วมูลค่าสินค้าจริงคือเท่าไหร่กันแน่ โดยการคำนวณในเรื่องนี้ประเด็นสำคัญคือต้องทำก่อนการบวก VAT เข้าไปเสมอ เพื่อให้ได้มูลค่าสินค้าที่แท้จริง โดยมีสูตรคำนวณภาษีคือ

สูตรวิธีการคำนวณภาษี

        มูลค่าสินค้า / บริการ ยังไม่รวม VAT 7% – ส่วนลด

และเมื่อได้ราคามูลค่าที่แท้จริงก่อนเรียกเก็บลูกค้าให้ + VAT 7% เพิ่มเข้าไป

ตัวอย่างเช่น : ร้านขายอาหารชาบูมีราคาต่อหัวไม่รวม VAT อยู่ที่ 399 บาท โดยมีส่วนลดให้ลูกค้า 5% ในวันเปิดร้าน ซึ่งร้านนี้มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่มีการคิด Service Charge การคำนวณเงินที่ลูกค้าต้องจ่ายเมื่อแทนตามสูตรคือ

(399 – 5%) =  379.05 บาท

เท่ากับว่าราคาที่แท้จริงเมื่อหักส่วนลดแล้วอยู่ที่ 379.05 บาท จากนั้นเวลาเรียกเก็บเงินจากลูกค้าก็จะ + VAT 7% เข้าไปด้วยก็จะได้

คำตอบ : 379.05 + 7% = 405.58 บาท

ภาษีก้าวหน้า

        อัตราภาษี ก้าวหน้า คือ อัตราภาษีที่อัตราภาษีจะสูงขึ้นตามระดับเงินได้สุทธิที่นำมาใช้คำนวณภาษีเงินได้ ทำให้ผู้เสียภาษียิ่งมีเงินได้สุทธิสูงก็จะยิ่งเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าที่ยิ่งสูงขึ้น โดยในแต่ละขั้นของเงินได้จะใช้อัตราภาษีในการคำนวณที่ต่างกันและนำภาษีที่คำนวณได้ในแต่ละขั้นของภาษีอัตราก้าวหน้ามารวมกันเป็นภาษีที่ต้องจ่าย

วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร

การจัดเก็บภาษีอากรของรัฐมีวัตถุประสงค์หลายประการซึ่งพอได้ดังนี้

  1. เพื่อหารายได้ รัฐบาลจำเป็นต้องหารายได้เพื่อใช้ในกิจการด้านต่าง ๆ ซึ่งกิจการที่ว่า เป็นกิจการเพื่อส่วนรวมเช่น การสร้างถนน การใช้จ่ายด้านความมั่นคง ด้านการศึกษา จึงทำให้ประชาชนที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษี นั้นเอง
  2. เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลจะนำเงินระบบ ภาษีอากรมา กระตุ้นความเจริญเติบโต เช่น การลดอัตราภาษีอากรเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน การยกเว้นการจัดเก็บภาษีของธุรกิจเอกชนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI: Board of Investment)
  3. เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมการบริโภคของประชาชน ซึ่งรัฐบาลสามารถนำระบบ การจัดเก็บภาษีอากร เพื่อเสียภาษีสรรพกร รวมถึงการควบคุมการบริโภคของประชาชน เช่น การเรียกเก็บภาษีจากสินค้า ประเภทฟุ่มเฟือยไม่ได้ จำเป็นต่อการครองชีพให้สูงทำให้มีราคาแพงเพื่อ ป้องกันมิให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยเงินฟุ่มเฟือยจนเกินไป
  4. เพื่อเป็นเครื่องมือรักษาเสถียรภาพในทางเศรษฐกิจ ในกรณีที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ปกติ รัฐบาล เป็นรายได้หลักของรัฐบาล จำเป็นต้องมีการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจเช่นการกระตุ้นการจ้างงานใน ยามที่ เศรษฐกิจตกต่ำ การป้องกันภาวะเงินเฟ้อด้วยมาตรการทางภาษี
  5. เพื่อเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้แก่ประชาชน ซึ่งเป็นการกระจายความมั่งคั่งของกลุ่มคน ร่ำรวยมาสู่คนยากจน ซึ่งนับว่าเป็นการลดช่อง ว่างระหว่างกลุ่มคนทั้ง 2 กลุ่มให้น้อยลงเพราะ การยื่นภาษี คือ ตามหลักการจัดเก็บภาษีนั้น เนื่องจากคนที่มีรายได้มากย่อมต้องรับภาระภาษีมาก ส่วนคนรายได้ปานกลางจนถึงรายได้น้อยจะต้องเสียภาษีน้อยหรืออาจไม่ต้องเสียเลย เป็นหลักการที่ทำถูกแล้ว
  6. เพื่อเป็นเครื่องมือสนองต่อนโยบายของรัฐบาล โดยปกติเมื่อรัฐบาลต้องการเงินเพื่อใช้ในโครงการใหญ่ (Mega Project) ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากรัฐบาลอาจใช้การจัดเก็บภาษีอากรบางชนิดให้มาก ขึ้นเพื่อนำเงินที่ได้มาทำโครงการให้ได้ตามนโยบายของรัฐ

รายได้เท่าไหร่เสียภาษี

         บุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท (หรือมีเงินเดือน เดือนละไม่เกิน 26,583.33 บาท) ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี

          การเสียภาษีนั้นถือเป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานที่สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตาม เพราะมีระบุไว้ในกฎหมาย และตามกฏหมายแล้ว ได้ระบุว่าให้บุคคลทุกคนที่มีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี ถ้าบุคคลนั้นมีเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษี เกิน 319,000 บาทขึ้นไป ต่อปี  และแม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ต้องยื่นแบบเหมือนกัน (แต่ไม่ต้องจ่ายภาษี) ตามหลักการจัดเก็บภาษี

วิธีการคิดภาษีที่ต้องจ่าย : รายได้เท่าไหร่เสียภาษี

          สำหรับการคำนวณภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นมีหลักง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากดังนี้

สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 26,583.33 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) = 319,000 บาท

สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท* + หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท + หักเงินสะสมกองทุนประกันสังคมรวมทั้งปี 9,000 บาท

* ค่าใช้จ่ายได้ 50% (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)

          จะได้สูตรคำนวณเงินได้สุทธิ ดังนี้

เงินได้ 319,000 บาท – ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท – เงินกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท = เงินได้สุทธิ 150,000 บาท

   จากนั้นเราก็ไปดูว่ารายได้สุทธิของเราอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ : รายได้เท่าไหร่ไม่ต้องเสียภาษี และเสียภาษีร้อยละเท่าไหร่กันบ้าง

    อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ปรับปรุงใหม่)

   

เงินได้สุทธิ

อัตราภาษี (ร้อยละ)

0-150,000

ได้รับการยกเว้น

150,001-300,000

ร้อยละ 5

300,001-500,000

ร้อยละ 10

500,001-750,000

ร้อยละ 15

750,001-1,000,000

ร้อยละ 20

1,000,001-2,000,000

ร้อยละ 25

2,000,001-5,000,000

ร้อยละ 30

5,000,001 ขึ้นไป

ร้อยละ 35

     

ลดหย่อนภาษีคืออะไร

  1. ลดหย่อนภาษีส่วนตัว

ลดหย่อนได้ 60,000 บาททันที โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ

  1. ลดหย่อนภาษีคู่สมรส

ลดหย่อนได้ 60,000 บาท โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้

  1. ลดหย่อนภาษีบุตร

ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท เฉพาะบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี หรือไม่เกิน 25 ปีและกำลังเรียนอยู่ แต่ในกรณีลูกคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป จะลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

  1. ลดหย่อนภาษีบิดามารดา

ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท โดยใช้สิทธิ์ซ้ำระหว่างพี่น้องไม่ได้

  1. ลดหย่อนภาษีผู้พิการ

ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยผู้ลดหย่อนภาษีต้องเป็นผู้ดูแลที่ระบุอยู่ในบัตรคนพิการเท่านั้น

  1. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท โดยครอบคลุมทั้งค่าฝากครรภ์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล

  1. ลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน

– เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงประกันแบบสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

– เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง เบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

– เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท และสามารถรวมประกันสุขภาพพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้

– เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

  1. ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน

– กองทุนประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,100 บาท (จากเดิมไม่เกิน 9,000 บาท)

– กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

– กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

  1. ลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค เงินบริจาคทั่วไป เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ เงินบริจาคพรรคการเมือง
  2. ลดหย่อนภาษีด้วยมาตรการรัฐ ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท

อากรแสตมป์มีขายที่ไหน

         แสตมป์อากร ซื้อที่ไหน เมื่อประชาชนทั่วไป ติดต่อธุระกับหน่วยงานราชการ เวลาที่ต้องมีการมอบอำนาจหรือทำธุรกรรมต่าง ๆกับหน่วยงานราชการ จำเป็นต้องมีการติดอากรแสตมป์ ในหนังสือสัญญาหนังสือมอบอํานาจทั่วไป หนังสือมอบอํานาจขนส่ง

อากรแสตมป์ซื้อที่

  1. ที่ทำการไปรณีย์ทุกพื้นที่
  2. ร้าน 7-11 มีขายเป็นบางสาขาจะต้องสอบถามพนักงานของสาขา
  3. ร้านขายเครื่องเขียนใกล้บ้าน
  4. สรรพากร
  5. สถานที่ราชการต่าง ๆ
  6. เว็บไซต์ที่มีขายอากรแสตมป์

วิธีการเสียภาษี

       การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากผู้เสียภาษี จะชำระภาษีโดยการ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ถ้าในการยื่นแบบ แสดงรายการ และคำนวณภาษี ตามแบบแสดงรายการ ที่ยื่นนั้น มีภาษีที่ต้องชำระ หรือต้องชำระเพิ่มเติมอีก ก็ให้ชำระ หรือชำระเพิ่มเติม ต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร พร้อมกับ การยื่นแบบนั้น โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับชำระ จะออกหลักฐานใบเสร็จ แสดงการรับเงินภาษี และถือเป็นหลักฐาน แสดงการยื่นแบบฯ ให้กับ ผู้ยื่นแบบแสดงรายการ ทุกราย การชำระภาษีเลือกวิธีการชำระได้ดังนี้

  1. ชำระด้วยเงินสด
  2. ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (โดยผู้ถือบัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม) สามารถชำระภาษีได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  3. ชำระด้วยเช็คหรือดราฟต์
  4. ชำระด้วยธนาณัติ

ความหมายของภาษี

          ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือเรียกย่อๆ ว่า แวต(VAT) คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายสินค้า ผู้ผลิตสินค้าและผู้ให้บริการในส่วนที่เพิ่มขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มประกอบด้วย

          1. ภาษีซื้อ Input Vat คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจาการซื้อวัตถุดิบ/สินค้า/สินทรัพย์และบริการต่างๆ จากกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

          2. ภาษีขาย (Output Tax) คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายวัตถุดิบ/สินค้าและบริการต่างๆ ของกิจการที่จดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

Value Added คือ

          การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการในทางการตลาด ด้วยการเพิ่มลักษณะพิเศษหรือจุดเด่นให้กับสินค้าและบริการ เพื่อทำให้สินค้าหรือบริการน่าจดจำ ตอบสนองความต้องการซื้อของลูกค้า มีจุดเด่นที่แตกต่างไปจากเดิม

ใบกำกับภาษี คือ    แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

          1.ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (Tax Invoice) คือเอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ใบกำกับภาษีแบบนี้ต้องมีรายการครบถ้วนตามที่กรมสรรพากรกำหนด (มาตรา 86/4) และใช้เป็นหลักฐานในการชำระหรือเรียกคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

          2.ใบกำกับภาษีอย่างย่อย (Abbreviation Tax Invoice) หรือเรียกย่อๆว่า ABB Tax Invoice คือใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าในลักษณะขายปลีกให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก ใบกำกับภาษีอย่างย่อยนี้อาจจะออกด้วยมือหรือออกด้วยเครื่องบันทึกเงินสด ใบกำกับภาษีแบบนี้ใช้เป็นหลักฐานในการชำระหรือเรียกคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ ดังนั้นผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องแจ้งความประสงค์ต้องการใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

บริการ คืออะไร

        (Service)  คือ การให้ความช่วยเหลือ หรือการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นการบริการที่ดี ผู้รับบริการก็จะได้รับความประทับใจ และชื่นชมองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งดีสิ่งหนึ่งอันเป็นผลดีกับองค์กรของเรา  เบื้องหลังความสำเร็จเกือบทุกงาน มักพบว่างานบริการเป็นเครื่องมือสนับสนุนงานด้านต่าง ๆ เช่น งานประชาสัมพันธ์ งานบริการวิชาการ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าบริการดี

                คำว่า “Service” แยกอักษรออกเป็นความหมายดังนี้

S = Smile                      แปลว่า                          ยิ้มแย้ม

E = enthusiasm              แปลว่า                          ความกระตือรือร้น

R = rapidness                 แปลว่า                          ความรวดเร็ว ครบถ้วน มีคุณภาพ

V = value                      แปลว่า                          มีคุณค่า

I = impression                แปลว่า                          ความประทับใจ

C = courtesy                  แปลว่า                          มีความสุภาพอ่อนโยน

E = endurance                แปลว่า                          ความอดทน เก็บอารมณ์

เงินคืนภาษีกี่วันได้

       ยื่นภาษีออนไลน์ กี่วันได้คืน: ผู้ที่เสียภาษีผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต หากเอกสารครบถ้วน จะได้รับเงินคืนภาษีภายใน 3 วัน ผ่านระบบคืนภาษีพร้อมเพย์

ยื่นภาษีเอกสาร กี่วันได้เงินคืน: โดยผู้ที่ยื่นภาษีแบบส่งเอกสาร จะมีระบบเวลารับเช็คเงินคืนประมาณ 45 วัน

แหล่งอ้างอิง :

https://www.prachachat.net/politics/news-745498
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~achairat/12%20General%20Taxes.pdf
https://insurethink.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99-20000-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5/
https://www.ddproperty.com

ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากผู้ประกอบการมีรายรับจากการขายสินค้าหรือ ให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นค าขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ รายรับเกิน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่จัดเก็บจาการขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการภายในประเทศ หรือมาจากต่างประเทศ โดยเก็บเฉพาะส่วนที่เป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ หรือ ได้รับคืน = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง เงินที่รัฐบาลเรียกเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบธุรกิจทั้งซื้อมา ขายไป หรือผลิตเป็นต้น เป็นภาษีที่อยู่ในตัวสินค้า หรือบริการต่างๆ ที่ประกอบกิจการภายในประเทศไทย วิธีการทำงานของ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” ที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน(ประโยชน์) คือ รัฐบาลจะจัดเก็บภาษีนี้กับบุคคล หรือกิจการที่ขายสินค้าทุกประเภท ทำให้รัฐสามารถทราบถึงรายได้ที่บุคคล หรือกิจการนั้นทำมาหาได้ว่าเป็นเงินเท่าโดยการดีดตัวเลขกลับจากจำนวน VAT ที่นำส่งนั้นเอง เรียกได้ว่าเป็นภาษีที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมานานตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน

อธิบายให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆ เกี่ยวกับคำว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร
ในอดีตก่อนจะมีการเรียกเก็บภาษีอย่างเป็นทางการ และถูกต้องตามกฎหมายในสังคมไทยสมัยนั้นให้มองว่าเป็นการเรียกเก็บ “ส่วย” จากผู้คนที่ค้าขายต่างๆ เพื่อให้ประเทศมีเงินใช้จ่ายในการพัฒนาทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านการเมือง การปกครอง ถนน สาธารณูปโภคต่างๆ ล้วนมาจากการเก็บเงินที่เรียกว่า “ส่วย” จากประชาชนที่อาศัยในประเทศ
เมื่อประเทศพัฒนาและเติบโตมากขึ้น และก้าวสู่สังคมที่มีกฎหมายที่ชัดเจนขึ้นตามยุคสมัย ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยจึงได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ( VAT ) เป็นครั้งแรก ประเทศไทยจึงจัดเก็บเงินส่วนนี้ ที่มาจากความสะดวกสบายทุกอย่างที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ถือเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้า หรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ความหมายของ VAT อาจตีความได้หลายแบบมากกว่าหนึ่งแบบ แต่หลักๆ แล้วมันคือการจัดเก็บจากจับจ่ายใช้สร้อยของประชาชน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )